top of page
Search

แมวตาเจ็บ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

Writer: โรงแรมแมว รับฝากแมวโรงแรมแมว รับฝากแมว

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีผลต่อดวงตาแมว

กลุ่มโรคหวัดแมวที่ทำให้เกิดรอยโรคของดวงตาในแมวมีหลายชนิดที่สำคัญได้แก่

  • Feline Herpes virus

  • Feline Calici virus

  • Chlamydia spp.

1. Feline Herpes virus เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจของแมวที่สำคัญ และเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของหนึ่วของอาการอักเสบของดวงตา

อาการ มีการอักเสบของเยื้อตาขาว ตาแฉะ ต่อมาน้ำตาจะข้นขึ้น ลักษณะที่พบได้คือ มีการอักเสบของกระจกตา ที่มีลักษณะเป็นแผลหลุม มีลักษณะลายเส้นเป็นกิ่งก้าน (ไม่เรียบเหมือนแผลปกติ dendritic corneal ulcer) ในบางครั้งจะเป็นแผลเล็ก ๆ อาจรวมกันเป็นวงแผลขนาดใหญ่ (geographic epithelial ulcer) และบ่อยครั้งพบว่าแมวไม่มีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนต้นร่วมด้วย การรักษาและควบคุมโรคใช้เวลานาน การเกิดโรคมักเป็นแบบเรื้อรัง และสามารถกลับมาเป็นได้อีกขึ้นอยู่กับภาวะของร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันตกก็สามารถเป็นได้อีก การตรวจวินิจฉัยโรคลิวคิเมีย และโรคเอดส์แมว ในรายที่มีตาเจ็บเรื้อรังเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเป็นสาเหตุของการป่วยเรื้อรังได้

204378013.jpg
Pic7.jpg
pr00129_OkapiSciences_Feline_Herpes_Virus_Okapi_200x130.jpg

2. Feline Calici virus ไวรัสชนิดนี้ทำให้มีการอักเสบของเยื่อตาขาว ร่วมกับการเกิดแผลในช่องปาก ในภาวะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ มักเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง

3. Chlamydia spp เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะปอดอักเสบ แต่รอยโรคที่ตามักจะมีเพียงการอักเสบของเยื้อบุตาขาว มักพบมีการติดเชื้อร่วมกับ Feline Herpes virus ซึ่งทำให้มีอาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น

อาการ แมวที่ป่วยจะหายใจครืดคราด มีน้ำมูกอาการตาเจ็บจะเริ่จากข้างเดียวก่อน จากนั้นจะเป็นทั้งสองข้าง ใน 1-2 สัปดาห์ น้ำตาจะเปลี่ยนจากใสเป็นข้นมากขึ้น เยื้อตาขาวแดงและบวม ในรายที่เรื้อรังอาจจะพบว่าเยื่อตาขาวบวมอักเสบเป็นตุ่มกระจายได้

4. Mycoplasma โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องหรือมีสาเหตุมาจากหวัดแมว แต่เป็นสาเหตุของอาการตาแดงในแมวที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะ "ในที่ๆเลี้ยงสัตว์เลี้ยงหนาแน่น"

อาการ แมวป่วยจะมีเยื่อตาขาวอักเสบอย่างรุนแรง แดงบวมมากขึ้นน้ำตาจะเปลี่ยนจากใสเป็นขุ่นข้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ตัวที่ป่วยมาก ตาจะบวมปิด และมีเยื้อบางๆ มาปิดคลุมกระจกตา แมวที่ป่วยจะไม่มีอาการของระบบอื่นๆ

การรักษาและป้องกัน กรณีของโรคหวัดแมว

1. ทำวัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะโรค Feline Herpes virus และ Chlamydia

2. ไม่เลี้ยงแมวอย่างหนาแน่นเกินไป และควรแยกแมวที่ป่วยออกจากตัวอื่นๆ

3. ในรายที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ควรตรวจวินิจฉัยโรคอื่นๆ โดยเฉพาะ Feline leukemia และ Feline Immunodeficiency virus (ลิวคิเมีย และ เอดส์แมว)

4. การรักษาโรคหวัดแมว มักใช้เวลานาน การดูแลแมวให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี สะอาด ได้อาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ ร่วมกับการปฏิบัติตามคำแนะนำและแผนการรักษาของสัตวแพทย์ ซึ่งอาจจะมีการพ่นยา หรือการให้ยาทานควบคู่ไปด้วย


 
 
 
  • Wix Facebook page

www.Cat-Hoteru.com 

โรงแรมแมว รับฝากแมว ฝากแมว 
© 2014 by Foniw

 

Open 10.00-20.00 
No walk in 
Advise before visit. 

Line : @CatHoteru 

 

bottom of page